Nokia เปิดอินไซต์ผู้ใช้สมาร์โฟน มองหามือถือใช้งานนานขึ้น-ราคาเอื้อมถึง พัฒนาโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ตอบโจทย์ตลาด

 โนเกีย (Nokia) เปิดตัวสมาร์ทโฟน รุ่นใหม่อย่างเป็นทางการที่ผ่านมา สะท้อนแนวคิดการวางเป้าหมายช่วยให้สมาร์ทโฟนมีราคาย่อมเยาและใช้งานได้ยาวนานขึ้น เป็นการสนับสนุนให้ผู้ใช้ทั่วโลกเก็บรักษาและใช้งานโทรศัพท์ได้นานวันกว่าเดิม โดย สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดจากผู้ผลิตโทรศัพท์สัญชาติฟินแลนด์ ถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับรายงาน

เทรนด์โลกที่พบว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้คิดว่าสมาร์ทโฟนมีราคาแพงเกินไปและ 81 เปอร์เซ็นต์ต้องการโทรศัพท์ที่สามารถรองรับการใช้งานได้แม้เวลาจะผ่านไปนานปี เช่นเดียวกับตลาดในประเทศไทย 58 เปอร์เซ็นต์คิดว่าสมาร์ทโฟนในตลาดราคาสูงเกินไป และ 95 เปอร์เซ็นต์ ต้องการสมาร์ทโฟนที่มีอายุการใช้งานนานขึ้น




 

สตีเฟ่น เทย์เลอร์ (Stephen Taylor) ประธานฝ่ายการตลาดของเอชเอ็มดี โกลบอล เจ้าของลิขสิทธิ์การจัดจำหน่ายสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เสริมแบรนด์โนเกียทั่วโลก กล่าวว่า รายงานนี้ไม่เพียงเน้นย้ำถึงความรักที่ผู้คนทั่วโลกมีต่อโทรศัพท์ของตัวเองเท่านั้น แต่ยังแสดงว่าผู้ใช้มีความต้องการโทรศัพท์มือถือที่ไว้วางใจได้มากขึ้น ว่าจะทำให้ข้อมูลทั้งหมดปลอดภัย และสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น โทรศัพท์ใหม่ทั้ง รุ่นของเราที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ตอบข้อกังวลที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจ ประสิทธิภาพพร้อมคุณภาพสูงของโทรศัพท์จะยังคงอยู่ตลอดการใช้งานเป็นเวลาหลายปี ทุกเครื่องจะได้รับการอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นประจำเพื่อยกระดับความปลอดภัยตลอดเวลา ไม่ว่าเครื่องนั้นจะมีราคาระดับใด ก็สามารถทำงานบนแพลตฟอร์ม Android ล่าสุดได้




 

ด้านการปฏิสัมพันธ์

ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าผู้คนพึ่งพาโทรศัพท์มากขึ้น จนมีการจับสัมผัสเครื่องเฉลี่ย 142 ครั้งต่อวัน เฉลี่ยแล้วมีการใช้เวลาในการมองหน้าจอ 18 ชั่วโมง 12 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งเทียบเท่ากับการดูซีรีส์ดัง Game of Thrones ต่อเนื่อง ภาคแรก โดยชาวไทยใช้เวลาในการดูหน้าจอโทรศัพท์มือถือ เฉลี่ย 11.5 ชั่วโมง ต่อวัน ชาวโคลอมเบียใช้เวลาส่วนใหญ่ดูหน้าจอน้อยกว่า ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่เยอรมนีและโปรตุเกสติดหน้าจอน้อยที่สุดคือ ชั่วโมงต่อวัน

 

 

 

สถิติการใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 95ปอร์เซ็น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดย 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานทั่วโลกยอมรับว่า "รัก" โทรศัพท์ของตน ขณะที่ด้านคนไทยพบ 98 เปอร์เซ็นต์  โดย ความรัก" นี้แปลว่าโทรศัพท์มือถือกลายเป็นศูนย์กลางในทุกส่วนของชีวิตคน

ยุคดิจิทัลจากผู้ใช้มือถือคนไทยปี 2020 – 2021 โดย 3 อันดับแรกพบ 91% เปอร์เซ็นต์ หันมาใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการชำระเงิน สำหรับทำธุรกรรมต่าง ๆ รองลงมา 88 เปอร์เซ็นต์ ช้อปปิ้งออนไลน์จากเว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Instragram Facebook และ 86เปอร์เซ็นต์ เลือกทำงานต่าง ๆ บนโทรศัพท์

 

5    รูปแบบยอดนิยมของการใช้โทรศัพท์ทั่วโลก คือ:

1.     ท่องอินเทอร์เน็ต

2.     ดูโซเชียลมีเดีย

3.     ฟังเพลง

4.     เล่นเกม

5.     ส่งข้อความ



 

ความไว้วางใจในเทคโนโลยี

 

ความไว้วางใจเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกโทรศัพท์มือถือคู่กาย การสำรวจพบว่า 51.9 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยยอมรับว่า "การรู้ว่าโทรศัพท์ของตัวเองปลอดภัย” นั้นสำคัญมาก

 

อย่างไรก็ตาม 39 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าจะตัดสินใจรออย่างน้อย สัปดาห์เพื่อดาวน์โหลดการอัปเดตด้านความปลอดภัย โดย ใน หรือ 29 เปอร์เซ็นต์ ไม่รู้ว่าโทรศัพท์ของตัวเองมีการอัปเดทด้านความปลอดภัยล่าสุดหรือไม่ ทำให้เกิดความเสี่ยงถูกคุกคามและถูกแฮก ในขณะที่ ใน หรือ 34 เปอร์เซ็นต์ ไม่ลงมือดาวน์โหลดการอัปเดตใด ๆ เลยด้วยความเชื่อว่าไม่ต้องทำอะไร

 

สาเหตุ อันดับแรกที่ทำให้คนอังกฤษ (Brits) ไม่ดาวน์โหลดการอัปเดทด้านความปลอดภัย คือ:

1.          มีความคิดว่าไม่ต้องทำอะไรเลย (34 เปอร์เซ็นต์)

2.          กังวลว่าโทรศัพท์จะทำงานช้าลง (13 เปอร์เซ็นต์)

3.          ห่วงว่าการอัปเดตจะใช้พื้นที่บนโทรศัพท์มากเกินไป (เปอร์เซ็นต์)

4.          เชื่อว่าการอัปเดตจะทำให้โทรศัพท์มือถือล้าสมัยตกรุ่น (เปอร์เซ็นต์)

5.          เชื่อว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์จะสามารถสอดแนมได้ (เปอร์เซ็นต์)

 

ลดประมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์

 

ในเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้ใช้ในอังกฤษ (Brits) ถือครองโทรศัพท์ โดยเฉลี่ยแล้วพบว่ามีการรอน้อยกว่า ปีก่อนที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์ มีเพียง ใน หรือ 33 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เก็บโทรศัพท์ไว้ได้นานกว่า ปี อย่างไรก็ตาม ใน หรือ 73 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่าต้องการเก็บโทรศัพท์ไว้ใช้งานได้นานขึ้น และ 78 เปอร์เซ็นต์จะใช้งานโทรศัพท์นั้นต่อเนื่องหากอุปกรณ์ยังคงประสิทธิภาพการทำงานเมื่อเวลาผ่านไปใน  หรือ 50 เปอร์เซ็นต์ กังวลว่าการอัปเกรดเครื่องอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดย ใน หรือ 38 เปอร์เซ็นต์ ห่วงเกี่ยวกับการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.